วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หัวครูหนังตะโพน เริ่มสร้างขึ้นสมัยเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ

อ.ศูภณํฏฐ์ ผู้เป็นเจ้าของหัวครูหนังตะโพนและผู้เขียนบทความนี้
ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้นานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเสียที  จึงพยายามที่จะใช้เวลาที่ยังว่างอยู่ในตอนนี้ รีบเขียนเรื่องราวของหัวครู หรือที่เรามักจะเรียกกันติดปากว่า เศียรพ่อแก่ ซึ่งจริงๆ วัตถุที่นำมาสร้างมีมากมาหลายแบบ อาทิ ปั้นจากดินเจ็ดท่า เจ็ดป่า เจ็ดโปร่ง หรือแกะจากไม้ขนุน หรือก็กระดาษสา บางสำนักก็ทำจากทำจากหนังตะโพน เหล่านี้ ล้วนมีที่มาที่ไป ฉะนั้นพวกลูกศิษย์ลูกหารุ่นหลังควรค่าแก่การศึกษาหาความรู้ เพราะครูของท่านส่วนใหญ่คือพ่อแก่  วันนี้ ข้าพเจ้า จะเล่าถึงพ่อแก่ ที่สร้างจากหนังตะโพน และทำไมต้องใช้หนังตะโพนสร้าง บางท่านอุตริ บอกว่า หนังตะโพนก็คือหนังวัว หนังควาย ถ้าเราไปเอาหนังวัว หนังควายมาสร้างเลย ก็น่าจะได้ ขอบอกไว้เลยนะ นั่นจะนำความวิบัติมาให้ท่าน การที่เขาเรียกว่าหนังตะโพน นั้น เขาถึอว่า ตะโพนเครื่องดนตรีไทยที่มีเสน่ห์ มีมนต์ขลัง ถ้าชุดปี่พาทย์ระนาดเอก ขาดกลองตะโพนเมื่อไหร่ คณะปี่พาทย์วงนั้น จะเล่นไม่ได้สมบูรณ์แบบเลย การนำหนังตะโพนเก่ามาประกอบเป็นรูปเคารพเศียรพ่อแก่ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะ หนังตะโพน ถือเป็นของขลัง เพราะผ่านการกราบไหว้ ผ่านการบูชาเป็นร้อยเป็นพันครั้งที่มีการนำไปเล่นไปแสดง เมื่อตะโพนลูกไหนถึงเวลาต้องเปลี่ยนหนัง ก็จะมีการถอดเอาหนังเก่าเก็บไว้ ครูเพลงหน้าพาทย์ในอดีต จึงดำริที่จะนำหนังตะโพนมาประกอบเป็นเศียรพ่อแก่ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยวงปี่พาทย์ของครูพุ่ม พุ่มเสนาะ ซึ่งเป็นต้นตะกูลของ ครูนิ่ม โพธิ์เอี่ยม ปรมจารย์ครูใหญ่แห่งวัดพระพิเรนทร์  ว่ากันว่าวงปี่พาทย์ของครูพุ่ม เป็นวงประจำวังกรมเสด็จหลวงชุมพรฯ  ครั้งกระนั้นพระองค์ รับสั่งให้ครูพุ่มหาหนังตะโพนเก่ามาสร้างหัวครูสำหรับบูชา โดยพระองค์ท่านจะเป็นคนเชิญครูด้วยตัวเอง ครูพุ่มก็ทำตามพระบัญชา หาหนังตะโพนเก่ามาให้ช่างหลวงประกอบเป็นเศียรพ่อแก่ถึงสามเศียร แล้วนำขึ้นไปถวายเสด็จกรมหลวงชุมพร หลังจากนั้น ท่านก็ให้โหราจารย์ตั้งเครื่องบวงสรวงแล้วประกอบพิธีกล่าวโองการเชิญครูด้วยพระองค์เองระหว่างนั้น ว่ากันว่า หลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามฒ่าพระอาจารย์ของพระองค์ท่านก็มาปรากฏกายให้เห็นด้วย ในขณะที่พระองค์ท่านประกอบพิธีกรรมเชิญครู 

ครูสังเวียน สุขรส ลูกชายครูปลด
 ปัจจุบันทั้งครูสังเวียนและครูปลดเสียชีวิตหมดแล้ว
หลังจากนั้น เศียรพ่อแก่ทั้งสาม จะถูกตั้งประดิษฐานไว้ในห้องบูชาในวังของพระองค์ท่าน และก็มีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นเสมอ เพราะเวลาที่เสด็จกรมหลวงชุมพรไม่อยู่ โดยเฉพาะเวลากลางคืนข้างขึ้น จะมีคนเห็นฤาษีถือไม้เท้า หน้าตาดุดันเดินไปเดินมาอยู่ในพระราชวัง จนทำให้ข้าหลวงและทหารมหาดเล็กในวังหวาดกลัวกันไปตามกัน แม้เวลาผ่านล่วงเลยมานมนาน ก็ไม่ปรากฏว่า เศียรพ่อแก่ทั้งสามตกไปอยู่ที่ผู้ใด นับแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดาครูนาฏศิลป์สายโขน ละคร  ลิเก จึงนิยมที่จะใช้หนังตะโพนนำมาประกอบเป็นหัวครูไว้บูชา เพราะเชื่อว่า จะเป็นเมตตามหานิยม ผู้บูชาจะมีชื่อเสียงโด่งดังเช่นเสียงของตะโพน และถ้าใครมีเศียรที่สร้างจากหนังตะโพน โปรดเก็บบูชารักษาไว้ให้ดี เพราะเดี๋ยวนี้หายากแล้ว ส่วนใหญ่สร้างจากดินหรือไม่ก็กระดาษสาเสียส่วนใหญ่


ตอนที่ 2

     หัวครูพ่อแก่สิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ที่ทำจากหนังตะโพน ตำนานสร้างที่เต็มไปด้วยความเข้มขลัง

                                                                            จดๆ จ้องๆ อยู่หลายวันที่จะเริ่มต้นเขียนเรื่องราวหัวครูที่
สร้างจะหนังตะโพน ซึ่งก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้า ได้เขียนไว้แล้วในบล็อกกูเกิล ฉะนั้น ใครที่ยังไม่ได้อ่านในตอนต้น ก็เข้ากูเกิล แล้วพิมพ์คำว่า”หัวครูสร้างจากหนังตะโพน” ก็จะขึ้นข้อมูลจากบล็อก  ที่ข้าพเจ้าได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน จึงถือเป็นวิทยาทานให้แก่คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป สำหรับตอนต่อไปนี้ ข้าพเจ้าจะขอเล่าเรื่องราวหัวครูหนังตะโพนที่มีความสำคัญกับบรรดาชาวคณะนักแสดง ไม่ว่าจะเป็น คณะลิเก คณะโขน คณะละคร รวมไปถึงคณะนักแสดงลำตัด และคณะเพลงอีแซว รวมไปถึงศิลปินทุกแขนง ต่างก็ให้ความรักความศรัทธาในหัวครูที่เป็นพ่อแก่กันอย่างยาวนานจนกระทั่งถึงปัจจุบัน การบูชาหัวครู ยิ่งนิยมมากขึ้น 

 หัวครูหนังตะโพนหรือเศียรพ่อแก่ที่สร้างจากหนังตะโพน ปัจจุบันต้องถือว่า เป็นสิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ของวงการหัวโขนหัวครูในประเทศไทย เพราะถือเป็นของหายากที่สุด ไม่ว่าบ้านไหน คณะไหนถ้าได้มีหัวครูที่สร้างจะหนังตะโพน เขาจะถือว่า เป็นเศียรที่สุดยอดและสำคัญมาก ไม่ใช่จะมีกันได้ทุกคน แม้สมัยก่อนครูผู้สร้างหัวครู ยังเลือกที่จะทำให้กับลูกศิษย์ที่มีลักษณะควรแก่การครอบครอง หรือมีอนาคตที่จะเป็นเจ้าโป๋ (คำเรียกหัวหน้าคณะลิเกสมัยก่อน) จึงจะได้เศียรครูหนังตะโพนไปเป็นสมบัติประจำคณะ สำหรับตัวข้าพเจ้าค่อนข้างโชคดีหน่อย เนื่องเพราะเป็นคนที่ชอบสะสมของเก่ามาแต่ไหนแต่ไร สะสมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง เศียรครู ของเล่นเก่าตระกูลสังกะสี มีเก็บจนเต็ม
บ้าน  ซึ่งที่จ. สมุทธปราการกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อย จนถึงขนาดหนังสือพิมพ์ข่าวสดและหนังสือพิมพ์บ้านเมือง เคยมาทำช่าวสกู๊ปสัมภาษณ์ลงหน้าพระเครื่องมาแล้วเมื่อปี 52 โดยเฉพาะเศียรครูหรือหัวครูที่สร้างจากดินมงคล ไม้ตะเคียน หรือปู่ฤาษีที่สร้างจากเนื้อดิน 7 ป่าช้า ดินมหามงคลและกระดาษสา ข้าพเจ้ามีทุกแบบ แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าโปรดมากที่สุด คือหัวครูที่สร้างจากหนังตะโพนซึ่งถือเป็นของสูงของแรงที่สุดที่ข้าพเจ้าได้ครอบครองอยู่ขณะนี้รองจากเศียรปู่ที่สร้างจากเสาไม้ตะเคียนความ ได้เปรียบในการเป็นนักสะสมของข้าพเจ้า คือต้นตระกูลทางคุณแม่ของข้าพเจ้า คือคุณตาก็เป็นเจ้าของคณะปี่พาทย์ในจ.นครสวรรค์ อ.โกรกพระจึงทำให้รู้จักหัวครูหนังตะโพนมาตั้งแต่เด็ก คุณตาของข้าพเจ้าชื่อครูเมี้ยน ยายชื่อยายผัน ยายทองหยด ทั้งสองท่านเป็นศรีภรรยาของคุณตาหัวฉะนั้นครูหนังตะโพนที่ข้าพเจ้าได้ครอบครองอยู่ขณะนี้ ล้วนมีที่มาจากบรมครูศิลปินหลายสาย  ซึ่งมีทั้ง คณะลิเก อย่างเช่นหัวครูรูปพ่อแก่ จากครูมูล ยี่หร่า  ครูท่านนี้ถือเป็นต้นตระกูลผู้ก่อตั้งคณะลิเกชื่อประมวลศิลป์
ชีวิตของท่านถ้าอยู่ถึงตอนนี้ ก็100 กว่าปี ท่านเป็นชาว อ.ป่าโมก จ.พระนครศรีอยุธยาและยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไสยเวทย์ ไม่ว่าจะเป็นลูกเล็กเด็กแดง หรือใครไปโดนอะไรมา ก็จะต้องวิ่งมาให้ท่านแก้และรักษา จนเป็นที่เลื่องลือด้านวิชาไสยเวทย์อาคมกันทั้ง จ.พระนครศรีอยุธยา ครูมูลเป็นช่างปั้นเศียร ไม่ว่าจะเป็นเศียรดิน เศียรกระดาษหรือเศียรหนังตะโพนท่านสามารถทำได้หมด ที่สำคัญ คือท่านเก่ง เล่นดนตรีไทย คณะลิเกของท่าน สมัยก่อน(เกือบร้อยปี)ถ้านับตามอายุ เพราะท่านชีวิตของท่านน่าจะเกิดจะทันแผ่นดินรัชกาลที่ 6 ความเชี่ยวชาญด้านศาสตร์ศิลปิน ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ฉะนั้น เมื่อถึงเวลาไหว้ครูช่วงเดือนเมษาท่านก็จะจัดพีไหว้ครู แต่ก่อนหน้า ท่านก็จะเอาหนังตะโพนเก่าๆ ที่ชำรุดแล้ว มาประกอบเป็นเศียรหนังพ่อแก่เพื่อให้กับลูกศิษย์ที่เป็นเจ้าของคณะ ถ้านับเวลาผ่านมาชั่วชีวิตของท่าน หัวครูหนังตะโพนน่าจะกระจายอยู่ในหมู่ลูกศิษย์ที่ยังคงประกอบวิชาชีพนี้อยู่ แต่ถ้าใครเลิกคณะไป หัวครูก็สูญหาย เช่นเดียวกันกับ พ่อครูปลด ท่านผู้นี้ ก็อยู่ในยุคเดียวกับพ่อครูมูล ท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องดนตรีไทย บ้านของท่าน อยู่ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าของคณะละครชาตรีและมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเช่นกัน
เศียรครูอายุเกือบ 100 ปี
  เป็นต้นตระกูลของละคร คณะป่าโมก ยุคต้น ๆ พ่อครูปลดเป็นบิดาของพ่อครู สังเวียน สุขรส ถือเป็นครูแห่งกลองตะโพนมือหนึ่งทีเดียว ในสมัยนั้น จึงนิยมสร้างหัวครูจากหนังตะโพนที่ชำรุดแล้ว จากการที่ข้าพเจ้าได้สะสมเศียรหนังตะโพนซึ่งถือว่า เป็นบุญเป็นวาสนาของข้าพเจ้า ที่ได้รับความเมตตาจากบรรดาทายาทของครูเหล่านั้นที่ได้ให้ข้าพเจ้าได้เช่าบูชาเศียรหนังตะโพน ใน ปัจจุบันข้าพเจ้าได้มีแบ่งปันให้กับลูกศิษย์ลูกหาเพื่อนำเงินรายได้มาช่วยสมทบทุนมูลนิธิแสงธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ที่ข้าพเจ้าได้เป็นประธาน  สำหรับท่านที่ได้บูชาหัวครูหนังตะโพนจากข้าพเจ้า ไป ขอให้เก็บรักษาบูชาให้ดี เพราะทุกเศียรล้วนมีญาณ
ศักดิ์สิทธิ์สถิตเสถียรสถาพรอยู่ตลอดเวลา บางรายนำไปบูชาก็เกิดอิทธิปาฏิหาริย์ขึ้นมากมาย จนเป็นที่ต้องการ แต่ของทุกอย่าง อยู่ที่บุญวาสนา ล้วนแต่มีเจ้าของทั้งนั้น สิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าอยากจะบอกก็คือ “ตะโพน” ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ของพระประคนธรรพ มีเรื่องเล่าอยู่ในพระไตรปิฎกว่า เมื่อสมัยพุทธกาล ท้าวผกาพรหม ได้ท้าทายพระพุทธเจ้าให้หาพระองค์ให้พบ เพื่อจะทดสอบข่ายญาณอันชั้นสูงของพระบรมศาสดา ท้าวผกาพรหม ได้เนรมิตตัวเองให้กลายเป็นผงธธุรีเล็กมาก ไปซ่อนองค์อยู่ในเกษียรสมุทธที่มืดดำ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถค้นพบ พระองค์ก็ทรงให้ท้าวผกาพรหมหาบ้างด้วยการเนรมิตพระองค์ไปซ่อนอยู่ในมวยพระเกศาของท้าวผกาพรหม ทำให้ท้าวผกาพรหมค้นหาไม่พบ หลังจากนั้น พระองค์ก็แสดงตนว่าอยู่ที่มวยผม ท้าวผกาพรหม ทรงยอมแพ้และกล่าวอาราธนาให้
หัวครูหนังตะโพนอายุเกือบร้อยปี
พระองค์เสด็จลงจากมวยผม ไม่ว่าจะอาราธนาอย่างไรก็ไม่เป็นผล พระองค์ก็เงียบเฉย ท้าวผกาพรหม จึงตัดสินใจอัญเชิญบรรดาเทวดา พระประคนธรรพ มาบรรเลงมโหรีที่เราเรียกกันว่า เพลงสาธุการ เพราะบทเพลงนี้ จะต้องขึ้นนำด้วยเสียงตะโพนซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ศักดิ์สิทธิ์มาก พอขึ้นเพลงสาธุการ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาจากมวยผมของท้าวผกาพรหม
  ณ จุดนั้น เขาจึงถือว่า เพลงสาธุการ เป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ ในการประกอบพิธีสำคัญทางศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเพื่องานมงคลทุกชนิด โดยเฉพาะพิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคล นี่แหละ คือความสำคัญของหัวครูที่สร้างจากหนังตะโพน ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มหัศจรรย์ที่สุดในวงการหัวครูทั้งปวงโดยฝีมือครูระดับปราชญ์ชาวบ้าน ฉะนั้น พระคาถาที่ตรงสุดในการบูชาเศียรครูหนังตะโพนต้องสวดบทนี้

      โอม พระประคนธรรพพระมุนีเทวาหิตาตุมเหปริภุญชันตุทุติยมปี พระมุนีเทวาหิตาตุมเหปริภูชัญตุตะติยัมปิ พระมุนีเทวาหิตาตุมเหปริภูญชัญตุหมั่นถวายหมากพลู น้ำชากาแฟดำ ทุกวันพฤหัศบดี ท่านจะมีแต่โชคดีครับเบอร์โทรติดต่อ..091-8197891 ไลน์ a0823333341 (อ.ศุภณัฏฐ์ อัฏบวัฒน์)
















วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รางวัลพระพิราพประทานพร รางวัลเกียรติยศของคนทุกวงการ

นี่คือรางวัลแรกในประเทศไทย ที่อัญเชิญหัวครูพระพิราพขึ้นเป็นสัญญลักษณ์
พระพิราพหล่อเต็มองค์รุ่นแรก ปี 53
แห่งความดีงามเพื่อยกย่องบุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม จากจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่มูลนิธิแสงธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้น เมื่อต้นปี 2551 โดยมี ท่าน อ.ศุภณัฏฐ์ อัฏฐวัฒน์ ได้ทำหน้าที่ประธานกรรมการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการบูชาพระบรมสาริกธาตุและการบูชาหัวครูปู่ฤาษีตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ที่ได้สั่งสอนสืบทอดกันมาโดยเฉพาะกิจกรรมบูชาพระบรมสาริกธาตุ ได้มีการจัดกิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าอาทิ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ฟิวแจอร์รังสิต ฟิวเจอร์บางแคฯ  ได้ทำกันอย่างต่อเนื่องตลอดดเวลาปี 51  จนกระทั่งปี 52 ท่าน อ.ศุภณัฏฐ์ อัฏฐวัฒน์ได้เริ่มต้นดำเนินกิจกรรมงานบูชาครู  โดยเริ่มกิจกรรมปีแรก ณ บริเวณชั้น 6 ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ถัดมาในปี 53 ได้ย้ายสถานที่ไปจัดที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุวิท หลังจากนั้น ปี 54 จนถึงปัจจุบัน ได้ย้ายมาจัดที่ ห้างอิมพีรียลสำโรง จนกลายเป็นงานประเพณีของทุกปี คือวันพุธแรกของเดือนมิถุนายน ภายใต้การสนับสนุนของนิตยสารแฮร์แอนบิวตี้ นอกจากกิจกรรมในการบูชาครูแล้ว ท่าน อ.ศุภณัฏฐ์ ยังได้จัดสร้างหัวครูในรุปแบบต่างๆ และเป็นคนแรกของวงการีนักสะสม เพราะได้ไดด้สะสมหัวครูหนังตะโพนไว้มากมายและเป้นคนแรกที่บันทึกเรื่องราวความเป้นมาของหัวครูหนังตะโพน เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 53 ท่านไสร้างพระพิราพเต็มองค์ ถือหอกขนาด 9 นิ้ว ซี่ง ณ ปัจจุบันผลงานพระพิราพหล่อทองเหลืองรุ่นแรก กลายเป็นของล้ำค่าประเมินราคาไม่ได้แล้ว ใครที่ครอบครองเอาไว้ก็หวงแหน หลังจาหนั้นปี 56 ท่าน อ.ศุภณัฏฐ์ ก็ไสร้างพระพิราพขนาดห้อยคอไว้เป็นจำนวน 1.000 องค์  

หัวครูพระพิราพเนื้อชนวนโลหะหล่อรุ่น2 สร้างปี 57
ปัจจุบันพระพิราพหน้าสีก็ถูกบูชาไปจนหมดสิ้น และในปี 57 ท่าน ก็สร้างหัวครูพระพิราพหล่อด้วยเนื้อชนวนทองโลหะ ไว้เป็นจำนวน 159 เศียร จนถึงบัดนี้ เศียรพระพิราพเนื้อชนวนโลหะก็กลายเป็นของหายาก ราคาก็สูง จวบจนถึงปัจจุบันและในงานไหว้ครูที่ผ่านมาวันพุธ ที่ 8 มิ.ย. 59 ที่ผ่านมา ท่าน อ.ศุภณัฏฐ์ ก็จัดงานมอบรางวัลพระพิราพประทานพร ให้กับศิลปินดาราและบุคคลทั่วจากทุกสาขาอาชีพ เพื่อเป็นกำลังใจกับท่านเหล่านั้นซึ่งบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้อัญเชิญหัวครูพระพิราพขึ้นเป็นรางวัลเกียรติยศแห่งความดีงาม ที่สำคัญรางวัลนี้เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่ได้รับมอบในวันนั้น ล้วนปราบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีทั้งดารานักแสดง บุคคลที่อยู่ในแวดวงการบันเทิงและบุคคลทั่วไป อาทิคุณหน่อง อรุโนชา ภาณุพันธ์จัดละครและ ผู้บริหาร บ.บรอดคลาส ช่อง 3 คุณอุ๊บ วิริยะ นักปั้นมืองทอง คุณนิวส์ นริสสัน พระเอกละครเรื่องลูกผู้ชายเลือดเดือดช่อง 3 คุณป๊อบ-พลรัตน์ รอดรักษา คุณชาย สุทธา ทวีศรีธนโชค ผู้บริหาร บ.ไอพีเอ็ม คุณพัท กำแพงเพชร คุณวิชัย นัยนานนท์ ดร.สมศักดิ์ ชลาชล ดร.ศุภาชัย ผ่องสวัสดิ์ คุณโก้ ธีรศักดิ์ พันธุจริยา ฯลฯ ซึ่งรวมทั้งหมด 43 คนที่ได้รับเกียรติในการขึ้นรับมอบรางวัลพระพิราพประทาน ปีแรกและครั้งแรกในงานไหว้ครูประจำปีชมรมอนุรนักพ่อแก่  

รางวัลพระพิราพ
ขอขอบคุณนิตยสารแฮร์แอนบิวตี้ ที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด 9 ปีเต็ม

ประมวลภาพในพิธีมอบรางวัล