วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แรงบันดาลใจของข้าพเจ้ากับบรมครูพระพิราพ



   

 “พระพิราพ” เทพสายอสูรองค์นี้ถูกยกย่องให้เป็นครูใหญ่สายนาฏศิลป์แห่งวิชานาฏศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าได้รู้จักจากการอ่านหนังสือชุดเรื่องรามเกียรติ์ ว่า ท่านคือพระฤาษีวิราธสืบเชื้อสายอสูร บำเพ็ญตบะบารมีจนแก่กล้า จนร้อนถึงพระพรหม ต้องเสด็จลงมาที่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราจิกา อันเป็นที่สถิตรของพระฤษีวิราธเพื่อประทานพรให้อยู่ยงคงกะพัน ใครฆ่าก็ไม่ได้ ตอนหลังไปแอบเป็นชู้กับนางรัมภา บาทบริจาริกาของท้าวเวสสุวรรณ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราจิกาเลยถูกท้าวเวสุวรรณสาปให้เป็นยักษ์เฝ้าสวน ทัณฑก จนกระทั่งมาถูกศรพระรามฆ่าตาย กลับขึ้นไปเป็นเทพบุตรดั่งเดิม แต่เมื่อได้ศึกษาจากบันทึกของครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดเขียนเป็นตำหรับตำรา บวกกับงานขียนที่แปลจากต่างประเทศ จึงได้ทราบว่า ท่านคืออีกหนึ่งภาคอวตารของพระอิศวร ซึ่งมีพระนามว่า พระไภราวะ รูปลักษณะเดียวกับพระพิราพ มีพระพักรต์ดุร้าย ดวงเนตรคล้ายตาจระเข้ มีเขียวขาวสั้นทื่อ ผิวกายสีเปลือกมังคุด จนออกม่วง 



            “พระไภราวะหรือไภรพ หรือไภราพ เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ทรงเป็น นาฏราช หรือมหาบิดาผู้ให้กำเนิดท่ารำนาฏศิลป์แก่มวลมนุษย์  ที่ชื่อว่าวิจิตรตาณฑวะซึ่ง มีทั้งหมด 108 ท่ารำ มีความอ่อนช้อยสวยงามจนหาที่เปรียบมิได้  เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชนชาวอินเดียแถบลุ่มน้ำคงคา โอริสา มหานที และจันทรภาค โดยเฉพาะที่เมืองพาราณสี เชื่อว่า เมื่อท่ารำเหล่านี้ถูกร่ายรำ จะทำให้หายเจ็บไข้ได้ป่วย ขับไล่เสนีดจัญไร หรือมนต์ดำต่างๆ จะพ่ายแพ้หมดสิ้น จึงมีการปั้นรูปเคารพ พระไพราวะ กราบไหว้บูชา หรือไม่ก็ปั้นศีรษะของท่านเพื่อขับไลภูติผีปีศาจ

         ในขณะเดียวกัน พระไพราวะหรือพระพิราพ เมื่อถูกยกย่องให้เป็นครูใหญ่สายยักษ์แห่งวงการนาฏศิลป์ โขน ลิเก ละคร กลับไม่นิยมสร้างรูปเคารพของท่านกราบไหว้บูชากันเหมือนอย่างเทพองค์อื่นๆ ที่เราเห็น อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ ก็ยักษ์เหมือนกัน อาจจะด้วยเพราะเกรงฤทธิ์อำนาจ อาถรรพณ์ต่างๆ ตามความเชื่อของชนพื้นเมืองในประเทศอินเดีย ว่าเมื่อสร้างท่านขึ้นมาแล้ว ถ้าทำไม่ถูกต้องหรือที่เรียกว่าผิดครู จะทำให้เกิดเรื่องอัปมงคลกับผู้ที่นำเข้าบ้านหรือมาแขวนห้อยคอ ทั้งๆ ที่ ตามตำนานแท้จริง ท่านคือครูผู้มีเมตตาสูงกับมนุษย์ชาติ และท่านก็คือองค์พระศิวะนั่นเอง เพียงแต่เป็นปางพระพิราพมีหน้าเป็นยักษ์ดุร้าย
 ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว เราจะไม่เคยพบเลยว่า มีการสร้างพระพิราพเพื่อเป็นวัตถุมงคลสำหรับกราบไหว้บูชา หรือนำมาแขวนห้อยคอเป็นเครื่องรางนำโชค จะมีก็แต่การสร้าง ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเริ่มต้นสร้างปี 2485  โดยเจ้าคุณศรีสนธิ์ แห่งวัดสุทัศ ในสมัยนั้น ปัจจุบันหาไม่ได้ ราคาแพงมากถึง หลักแสน  จนกระทั่ง เมื่อ 15 ปีที่แล้ว พระเกจิชื่อดัง(ละสังขารแล้ว)คือหลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว ได้สร้างพระพิราพให้ลูกศิษย์ลูกหานำไปบูชาและห้อยติดตัว จนเกิดประสบการณ์มากมายกลายเป็นวัตถุมงคลหายากไปแล้ว ซึ่งมีทั้งองค์บูชาและขนาดห้อยติดตัว หลังจากนั้น ก็มีครูศิลปินท่านหนึ่งได้ลาเพศฆารวาสอย่างถวารบวชเป็นพระภิกษุ คือพระอาจารย์ ศิริพงษ์ ท่านก็เป็นครูศิลป์ปินที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูสายตรงพระพิราพท่านหนึ่ง ที่เชี่ยวชาญการสร้างพระพิราพแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ลูกหานำไปห้อยคอติดตัวจนเกิดเรื่องเล่าประสบการณ์ปาฏิหาริย์มากมายเช่นกัน ที่สำคัญ เป็นที่รู้จักกันในแวดวงสายศิลปินนาฏศิลป์อีกด้วย และอีกหลายๆ สำนัก ได้ทยอยสร้างพระพิราพกันออกมา ถึงปัจจุบันนี้ พระพิราพ ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก แต่ตัวข้าพเจ้าเอง กลับมีความเชื่อว่า นี่คือจุดกำเนิดของวัตถุมงคล ที่จะนิยมกันไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ประวัติหรือตำนาน ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์ท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นรากฐานให้คนมีความปรารถนาจะบูชาท่านเพื่อเป็นศิริมงคล เสริมบุญบารมี และยิ่งได้ศึกษาลึกๆแล้ว จะพบว่า แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงของเรา ก็ยังเลื่อมใสศรัทธาบรมครูพระพิราพ จนมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการนาฏศิลป์ของไทยเราว่า เมื่อปี พ.ศ. 2506 พระองค์ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดพิธีพระราชทานครอบเศียรพระพิราพและต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ให้กับครูใหญ่สายนาฏศิลป์ถึง 4 ท่าน ณ โรงละคร พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต  คือ
ครูอาคม สายาคม ครูอร่าม อินทรนัฏ ครูหยัด ช้างทอง    ครูยอแสง ภักดีเทวา โดยมีครูใหญ่อาวุโส นายเจียร จารุจรณ (รงศ์ภักดี)เป็นผู้ประกอบพระราชพิธี
ถัดจากนั้นมาหลายสิบปี  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ณ ศาลาดุสิตตาลัย พระราชวังสวนจิตรลดา พระบาทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีครอบเศียรครูพระพิราพและต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ขึ้นมาอีกครั้งให้ครูศิลปินสายนาฏศิลป์
อีกหลายท่าน มีการบันทึกเทปถ่ายทอดสดผ่านสถานนีโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นพระมหากรุณธิคุณอันยิ่งใหญ่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่วงการนาฏศิลป์ของประเทศไทยเลยทีเดียวตราบเท่าถึงปัจจุบัน
             และนี่คือความสำคัญของบรมครูพระพิราพ ซึ่งในกาลก่อน อาจจะมีความเชื่อกันแบบดั้งเดิมว่า ท่านเป็นครูสายอสูรที่ดุร้าย ไม่ควรนำมาคล้องห้อยคอ และที่สำคัญยังบริโภคของดิบ นั่นเป็นความเชื่อแบบดั้งเดิม
            
  ความเชื่อแบบนี้ เคยมีลูกศิษย์หลวงปู่กาหลง ไปเรียนถามท่านว่า จริงหรือที่เวลาบูชาพระพิราพ ต้องถวายของสดของคาว หลวงปู่ท่านก็บอกว่า นั่นเป็นความเชื่ออีกสาย ไม่เกี่ยวกับของเรา ของเราอธิษฐานจิตเป็นสายเทพอวตาร พระศิวะอวตาร จึงไม่ต้องบูชาด้วยของสด บูชาด้วยหมากพลู ผลไม้ เพราะท่านก็คือ ฤษีเช่นเดียวกัน

    ฉะนั้นการที่ข้าพเจ้า จัดสร้างบรมครูพระพิราพ ขึ้นมาไม่ใช่เกิดจากความรักความศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ข้าพเจ้าต้องการให้ประชาชนชาวไทยทุกผู้ทุกนามได้ศึกษาความเป็นมาจะได้สืบทอดประวัติและตำนานของท่านสืบต่อไปอย่างสร้างสรรค์ เหมือนกับที่ เรารู้จักท้าวเวสสุวรรณ รู้จักชูชก รู้จักหนุมานและพระพิฆเนศ ซึ่งครูเหล่านี้ถูกนำมาสร้างเป็นเครื่องรางยึดเหนี่ยวทางใจอย่างแพร่หลาย

 











11 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 กรกฎาคม 2556 เวลา 02:56

    สาธุค่ะ...ท่านอาจารย์

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ7 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:02

    ค่ะสาธุ...ดีมากๆ เป็นแหล่งให้ความรู้อีกทางหนึ่ง

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ7 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:01

    ได่ประโยชน์มากมายจากการอ่านครั้งนี้เลยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จะพยายามพัมนาเนื้อหาให้ดี

      ลบ
  5. ตาม อาจารย์ มาจากเฟชบุ๊ค ครับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:55

    ค่ะสาธุ ปุ้มอ่านแล้วดีมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ11 มีนาคม 2557 เวลา 14:45

    ทำไมพระพิราพท่านถึงมีวงๆเหมือนหนุมานครับอาจารย์

    ตอบลบ
  8. สวัสดีครับ อยากจะอัญเชิญพระพิราพ ไม่ทราบยังมีอีกรึเปล่าครับ เห็นจากยูทูป ชุดละ 999
    รบกวนให้ข้อมูลได้ไหมครับ

    ชื่อ นพรัตน์ Line : Xifu8 หรือ Xifu9

    ตอบลบ